SWOT
ประเด็น | |||
การสื่อสารภายในสำนักวิชาฯ โดยเฉพาะกลุ่มอาจารย์แพทย์ที่ปฏิบัติงานที่โรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ยังมีช่องว่างของการสื่อสาร ทำให้การรับทราบข่าวสารต่าง ๆ ล่าช้าหรือไม่ได้รับข่าวสารสำคัญ ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของอาจารย์แพทย์ในกิจกรรมต่าง ๆ ของทางสำนักวิชาฯ | |||
ความมุ่งมั่นทุ่มเทของทีมผู้บริหารสำนักวิชาฯ ในการพัฒนาระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล โดยนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (ระดับแพทยศาสตรบัณฑิต) (WFME) ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพของระบบบริหารจัดการของสำนักวิชาฯ ภายใต้ค่านิยม MFU FIRST โดยมีทีมงานที่มีประสบการณ์การบริหารงานแพทยศาสตรศึกษาและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (WFME และ EdPEx) | |||
การแข่งขันเพื่อขอรับการสนับสนุนการทำวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งจากสถาบันภายในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายการวิจัย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขอรับการจัดสรรงบวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ | |||
สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเพื่อขยายศักยภาพและการเติบโตของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อให้เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง | |||
ระบบข้อมูลสารสนเทศของสำนักวิชาฯ ที่มีความพร้อมใช้งานด้วยรูปแบบที่เชื่อถือได้ ใช้งานง่าย และทันกาล สำหรับทั้งบุคลากร และลูกค้า โดยเฉพาะระบบสารสนเทศด้านการบริหารการศึกษา ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ ทำให้กระบวนการทำงานส่วนใหญ่ยังเป็นระบบ paper-based ส่งผลให้ขาดความคล่องตัวในการวัดผล และการทบทวนผลการดำเนินการและขีดความสามารถของสำนักวิชาฯ ยังไม่ได้ข้อมูลที่ทันเวลา เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วหรือที่ไม่ได้คาดคิด | |||
โครงสร้างการบริหารภายในสำนักวิชาฯ มีการแบ่งเป็น 3 ฝ่าย ตามสายงานของรองคณบดี ได้แก่ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายการศึกษา และฝ่ายบริการวิชาการและวิจัย โดยโครงสร้างภายในเพื่อรองรับงานตามพันธกิจยังไม่ชัดเจน โดยเฉพาะโครงสร้างของฝ่ายการศึกษาที่ยังไม่ได้รับการอนุมัติให้สาขาวิชาเป็นโครงสร้างของสำนักวิชาฯ เพื่อรองรับภารกิจด้านการจัดการศึกษา การวิจัย และให้บริการทางวิชาการ ทำให้การปฏิบัติงานยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน | |||
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี Artificial Intelligence ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในองค์กรเพื่อสร้าง organizational intelligence ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การทำงานบนระบบฐานข้อมูล (digital platform) มากขึ้น เพื่อก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของ AI Technology | |||
อาจารย์ยังอยู่ในโหมดของการเรียนรู้กระบวนทัศน์ใหม่ของการเรียนรู้ โดยเฉพาะการนำแนวคิด assessment for learning และ assessment as learning ไปสู่การปฏิบัติ รวมทั้งการให้ผู้เรียนฝึกสะท้อนคิด (Reflection) เพื่อมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตร (มคอ.2) และรายละเอียดรายวิชา (มคอ.3) ทำให้การนำไปปฏิบัติยังไม่ลึก (ทุกคาบการสอน) และกว้าง (ทุกรายวิชา) | |||
การประเมินความต้องการด้านขีดความสามารถและอัตรากำลังบุคลากร เพื่อจัดทำแผนด้านบุคลากรที่สำคัญที่สนับสนุนวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ | |||
โครงการวิจัยทางคลินิกยังมีจำนวนน้อย ขาดอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยาคลินิกที่จะสนับสนุนให้เกิดโครงการวิจัยทางคลินิกใหม่ รวมทั้งการจัดตั้ง Clinical Research Center (CRC) ของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อพัฒนาความก้าวหน้าด้านการรักษาผู้ป่วย รวมทั้งพัฒนาความร่วมมือของอาจารย์ปรีคลินิกและคลินิกในการทำวิจัยร่วมกัน Clinical Research | |||
ปัจจุบันมีสถาบันผลิตแพทย์ที่ได้รับการรับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น (ทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่ จุฬาฯ/ จุฬาฯ ทหารอากาศ/ รามาฯ/ รามาฯ จุฬาภรณ์/ ศิริราช/ วพม./ มศว./ มธ./ ม.นวมินทราธิราช/ ม.รังสิต/ ม.สยาม/ สจล. ลาดกระบัง/ ม.กรุงเทพธนบุรี/ ม.เวสเทิร์น/ ม.เกษตรศาสตร์) ส่งผลให้นักเรียนมัธยมปลายที่มีผลการเรียนดี-ดีมาก มีทางเลือกมากขึ้น อาจส่งผลให้สัดส่วนของผู้ที่เลือกมาศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสำนักวิชาฯ ลดลง | |||
อาจารย์แพทย์ส่วนใหญ่ยังไม่มีประสบการณ์จัดการเรียนการสอนในชั้นคลินิก ทำให้ไม่คุ้นเคยกับหลักสูตร รวมทั้งวิธีจัดการเรียนการสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผล โดยเฉพาะรูปแบบใหม่ ๆ ของการประเมินความก้าวหน้าในการพัฒนาสมรรถนะทางวิชาชีพ (EPA) | |||
เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเหนือสุดของประเทศ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง (GMS : Greater Mekong Sub region) มีโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมีเครือข่ายความร่วมมือกับศูนย์การแพทย์ มฟล. ได้แก่ ศูนย์บริการสุขภาพแบบครบวงจรแห่งภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย รวมทั้งสำนักวิชาด้านสุขภาพ ได้แก่ สนว.ทันตแพทยศาสตร์ สนว.วิทยาศาสตร์สุขภาพ สนว.การแพทย์บูรณาการ และ สนว.พยาบาลศาสตร์ ช่วยสนับสนุนแผนความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) | |||
Profile ของบุคลากรใหม่ (Generation Y) มีความรักองค์กรน้อยลง ใช้เงินเก่ง มั่นใจเกิน ไม่อดทน เอาแต่ใจไร้เหตุผล ล้ำสมัย อินเทรนด์ และ บ้าแชต เป็นต้น ส่งผลให้บุคลากรกลุ่มนี้มีอายุงานสั้น จะลาออกไปหาความท้าทายแห่งใหม่ | |||
อาคารเรียนและปฏิบัติการแห่งใหม่ของสำนักวิชาฯ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 34,570 ตร.ม. มีห้องเรียนหลากหลายขนาด ห้องเรียนกลุ่มย่อย ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดและ co-working space (รอการปรับปรุง) ศูนย์ฝึกผ่าตัด (Cadaveric surgical training center) ห้องปฏิบัติการกลางวิจัยที่มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูง เช่น LC-QTOF, LC-QqQ, ICP-MS/MS, GC-MS, NMR, FE-SEM, XRD, TGA, HPLC, ICP-OES และ NGS รวมทั้งพื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นโรงพยาบาลจำลอง และห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนนักศึกษาเป็นปีละ 100 คน ในอนาคต | |||
มีคณาจารย์ในระดับปรีคลินิกที่มีความรู้และประสบการณ์ เอาใจใส่ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด พัฒนารูปแบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการทั้งแนวราบและแนวดิ่ง ผลิตผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำรายวิชา อาจารย์ที่ปรึกษากลุ่ม และอาจารย์ที่ปรึกษาของ นศพ. | |||
มีทีมกิจการนักศึกษาที่เข้มแข็งที่ทำงานร่วมกับสโมสรนักศึกษาแพทย์ มฟล. เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาผ่านกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตร โดยร่วมกับชมรมต่าง ๆ ของสโมสรฯ เช่น ชมรมกีฬา รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ เช่น พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา และพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการของนักศึกษา มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาแพทย์ที่มีความจำเป็นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย | |||
นักเรียนรุ่นใหม่จัดเป็นคนรุ่นใหม่ (Generation Z) มีความต้องการและความคาดหวังต่อสถานศึกษาที่ต่างจากในอดีต เช่น คาดหวังวิธีจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ มากกว่าการบรรยายแบบดั้งเดิม ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสาร เป็นต้น ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร | |||
ระบบการกำกับติดตามตัวชี้วัดผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์อย่างเป็นระบบ (Strategic performance dashboard) เพื่อให้มั่นใจว่าการนำแผนยุทธศาสตร์ไปสู่การปฏิบัติเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ | |||
อาคารเรียนและปฏิบัติการของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มีทางเดินเชื่อมกับโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งที่ตั้งของสำนักวิชาอยู่ใกล้สนามบินแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติ ทำให้มีความได้เปรียบด้านระบบคมนาคม สะดวกต่อการเดินทาง และมีสายการบินที่จัดเที่ยวบินทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก ตลอดทั้งวัน | |||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 เป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ระดับสากล (ระดับแพทยศาสตรบัณฑิต) (WFME) ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรทั้ง 6 ด้าน โดยเน้น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบ active learning | |||
ธุรกิจบริการสุขภาพในภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลกระทบทำให้ส่วนต่างของรายได้ของแพทย์ที่อยู่ในภาคเอกชนและภาครัฐกว้างขึ้น ทำให้สำนักวิชาฯ อาจสูญเสียอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญออกไปอยู่ในภาคเอกชน หรือย้ายไปสถาบันอื่นในเขตกรุงเทพมหานคร | |||
สัดส่วนของอาจารย์แพทย์ในสังกัดสำนักวิชาฯ ที่เข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการหรือมีความก้าวหน้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการที่สูงขึ้น ยังต่ำกว่าค่าเป้าหมาย โดยเฉพาะอาจารย์ชั้นคลินิก | |||
สมรรถนะหลักของสำนักวิชาฯ คือ การผลิตบัณฑิตแพทย์ที่สามารถประกอบเวชปฏิบัติในชุมชน ภายใต้บริบทที่มีความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรม โดยสำนักวิชาฯ ใช้สมรรถนะหลักเพื่อสนับสนุนการผลิตแพทย์โดยร่วมกับโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท | |||
มีหน่วยวิจัยของสำนักวิชาฯ จำนวน 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยวิจัยมะเร็งและภูมิคุ้มกันวิทยา (Cancer and Immunology Research Unit, CIRU) และกลุ่มวิจัยนวัตกรรมชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์ (Research Group of Innovative Biomaterials and Medical Device (IBMC) ซึ่งผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ | |||
กสพท อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2571-2580 เพื่อเสนอขออนุมัติต่อ ครม. เป็นโอกาสดีทำให้สำนักวิชาฯ ปรับแผนการรับนักศึกษาโดยเข้าร่วมโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข โดยมีโรงพยาบาลน่าน เป็นสถาบันร่วมผลิต) และขยายศักยภาพในการรับนักศึกษาโดยร่วมมือกับ สถาบันร่วมผลิตเดิม รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นโรงพยาบาลหลัก ทำให้ สนว.แพทยศาสตร์ มีศักยภาพในการรับนักศึษาจำนวน 100 คน ต่อปี ในปีการศึกษา 2576 (ทำให้ สนว.แพทยศาสตร์ มฟล. เป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดกลาง) | |||
ระบบการเรียนรู้และการพัฒนาบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามพันธกิจ ตอบสนองความท้าทายเชิงกลยุทธ์ รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและโอกาสในการสร้างนวัตกรรม ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ | |||
มีหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พาราคลินิก ที่อยู่ระหว่างการนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยฯ มุ่งผลิตบัณฑิตพึงให้มีความรู้แบบพหุวิทยาการ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์คลินิก สามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อบูรณาการเทคนิควิธีวิจัยกับความรู้จากหลากหลายอนุสาขาวิชา เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา เภสัชวิทยา พยาธิวิทยา การบริหารจัดการ และ/หรือวิทยาศาสตร์คลินิก เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรมสิ่งใหม่ที่นำมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว | |||
มีโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่อยู่ระหว่างการพัฒนาศักยภาพให้เป็น รพ. ขนาด 317 เตียง เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของโครงการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ของแพทยสภา และเป็นสถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกหลัก (โรงพยาบาลหลัก) ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสำนักวิชาฯ ในปีการศึกษา 2569 | |||
มีสถาบันร่วมผลิตที่มีศักยภาพสูงในการจัดการศึกษาชั้นคลินิกตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลกลาง ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลลำพูน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งโรงพยาบาลสมทบชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป และอยู่ระหว่างการจัดทำบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเข้าร่วมโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยมีโรงพยาบาลน่าน เป็นสถาบันร่วมผลิตแห่งที่ 4 | |||
มีมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีชื่อเสียงและมีความเข้มแข็งทางวิชาการเป็นคู่ความร่วมมือ โดยเฉพาะ Oregon Health & Science University, Kumamoto University, Kunming Medical University, University of Texas Southwestern Medical School | |||
นักเรียนรุ่นใหม่จัดเป็นคนรุ่นใหม่ (Generation millennium or generation alpha) เป็นผู้เรียนที่เติบโตมาในช่วงที่เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศพัฒนาไปมากแล้ว (Digital Natives) มีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างไปจากผู้เรียนในอดีต เช่น ต้องการรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว ชอบทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ชอบสารสนเทศที่เป็นภาพมากกว่าตัวอักษร ทำงานได้ดีเมื่อรวมกลุ่มกัน ต้องการคำชมทันทีและชอบการได้รางวัลบ่อย ๆ (instant gratification and frequent rewards) ชอบเล่นเกมส์มากกว่าชอบทำงานที่จริงจัง เป็นโอกาสดีที่อาจารย์ของสำนักวิชาฯ จะนำรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ มาใช้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (co-creation) และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น แทนการนั่งฟังบรรยายแบบดั้งเดิม | |||
มีคณะกรรมการบริหารสำนักวิชา ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี (3 ฝ่าย) ผู้ช่วยคณบดี (3 ฝ่าย) หัวหน้าเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีคณะกรรมการประจำสำนักวิชา เป็นคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน คณบดี รองคณบดี 3 คน และกรรมการจากคณาจารย์ประจำ จำนวน 2 คน มาจากการเลือกตั้ง รวม 7 คน มีการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิชา ทุก 1-2 เดือน มีระบบกำกับดูแลองค์กรภายนอกสำนักวิชา ได้แก่ สำนักงานตรวจสอบภายใน มฟล. ตรวจสอบการใช้งบประมาณของสำนักวิชา และสำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน | |||
ปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้นักเรียนรุ่นใหม่อาจมีความสนใจเข้ามาเรียนแพทย์เพิ่มขึ้น | |||
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) อย่างก้าวกระโดดจากการพัฒนาขีดความสามารถของชิปประมวลผล (CPU, GPU) ในปัจจุบัน ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี 6G ที่มีความสามารถในการขนส่งข้อมูลที่เร็วขึ้นโดยเร็วกว่า 5G 1,000 เท่า รวมทั้งการพัฒนาเครือข่าย WiFi 7/ 7E ในอนาคต ทำให้การเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ในเวลาไม่กี่วินาที ส่งผลให้ระบบการศึกษาและภูมิทัศน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ขยายพื้นที่การเรียนรู้ของนักศึกษาออกไปนอกห้องเรียน นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้ได้ในทุกที่ ทุกเวลา จากหลากหลายช่องทาง เช่น การเรียนรู้ทางไกล เรียนรู้ตามกลุ่มความสนใจ เป็นต้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการบรรลุพันธกิจทุกด้าน (การศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม) รวมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาเพื่อให้พร้อมสำหรับการทำงานในระบบนิเวศใหม่ของระบบสาธารณสุขไทยในอนาคต | |||
ประเทศไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือ มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุจะก่อให้เกิดความต้องการสวัสดิการสังคมมากขึ้น เช่น การรักษา พยาบาล การดูแลผู้สูงอายุ ระบบบำนาญ เป็นต้น ขณะที่ระดับรายได้ต่อหัว/การออมของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อภาระด้านงบประมาณของภาครัฐเพื่อใช้จัดสวัสดิการสังคมโดยตรงทำให้ปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรให้บัณฑิตที่จบใหม่สามารถทำหน้าที่เสริมพลังให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะได้โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ | |||
การวิเคราะห์อัตรากำลังและขีดความสามารถของนักวิชาการศึกษาในระยะยาว เพื่อรองรับการขยายศักยภาพในการรับนักศึกษาตามโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย ในห้วงปี พ.ศ. 2571-2580 เพื่อให้มั่นใจว่าการบริหารการศึกษาจะเป็นไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ | |||
ระบบจัดการผลการปฏิบัติงานของบุคลากรตามกรอบคำรับรองการปฏิบัติงาน (performance agreement, PA) ที่ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรตั้งใจปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้มีผลการดำเนินการที่ดี และสนับสนุนการบรรลุเป้าหมายตามแผนยุทธศาสตร์ ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการนำไปปฏิบัติ | |||
ชื่อเสียงของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลลำพูน (สถาบันร่วมผลิต) เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองแนะนำให้บุตรหลานเลือกเรียนแพทย์ที่ มฟล. ปัจจุบันโรงพยาบาลทั้ง 4 แห่ง ได้รับการรับรองจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำมาใช้ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนในชั้นมัธยมตอนปลาย ทราบและสนใจที่จะสมัครมาศึกษาที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล. มากขึ้น | |||
มีช่องทางของการสื่อสารสองทางภายในสำนักวิชาฯ ที่หลากหลาย ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิชาฯ (ทุกเดือน)การประชุม SMT (ทุกสัปดาห์) การประชุม จนท.บริหาร (ทุกสัปดาห์) ผู้บริหารเดินสายเยี่ยมสาขาวิชาต่าง ๆ การประชุมสำนักวิชาฯ (ทุกเดือน) การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานชุดต่าง ๆ (ตามวงรอบที่กำหนด) รวมทั้งใช้วิธีการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line และ Facebook | |||
มีเครือข่ายความร่วมมือที่ดีในระดับพื้นที่เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้บัณฑิตแพทย์มีความเข้าใจระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิ การดูแลสุขภาพเป็นองค์รวมและการดูแลแบบผสมผสานครบทุกมิติทางกาย จิต สังคมและจิตวิญณาณ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในเขตสุขภาพที่ 1 | |||
มีวารสารทางวิชาการ Greater Mekong Subregion Medical Journal (GMSJ) ซึ่งเป็นวารสารระดับนานาชาติของสำนักวิชาฯ ที่จัดอยู่ใน Tier 2 ของ TCI (และอยู่ระหว่างรอการประเมินเพื่อเข้าสู่ Tier 1 ของ TCI) ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์และเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น | |||
แผนแม่บทหลักเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศของสำนักวิชาฯ เพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปฏิบัติงานบนระบบฐานข้อมูลในทุกสายงาน ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ | |||
มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เข้มแข็ง โดยนำผลการประเมินไปพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปี ต่อสัญญาจ้าง พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้รางวัลแก่ผู้มีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยม | |||
กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และการวิจัย มีจุดมุ่งหมายให้สถาบันอุดมศึกษาใช้ความสามารถ/ศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใหม่โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นฐานในการพัฒนา รวมทั้งการขับเคลื่อนของ อว. ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDGs) ภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนแปลงระดับฐานราก เป็นโอกาสที่ดีของสำนักวิชาฯ ที่จะผลักดันแผนงานโครงการเพื่อสนับสนุนนโยบาย SDGs ในส่วนที่เกี่ยวข้อง | |||
แพทยสภา อยู่ระหว่างการแก้ไขข้อบังคับ ศรว. เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอบเพื่อประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยการสอบด้านความรู้ จะรวมการสอบขั้นตอนที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน โดยนักศึกษาสามารถเข้าสอบได้เมื่อผ่านระยะเวลาเรียนไปแล้วไม่น้อยกว่า 2/3 ของระยะเวลาของหลักสูตร สำหรับการสอบทักษะทางคลินิก ยังคงเหมือนเดิม เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว | |||
ความรวดเร็วของการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้หากมีผู้ไม่หวังดีส่งข่าวเท็จซึ่งทำให้เกิดภาพลักษณ์เชิงลบต่อสำนักวิชาฯ และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ปกครองและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องกำกับติดตามข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำมาทำความเข้าใจผ่านสื่ออย่างเป็นทางการของสำนักวิชาฯ | |||
แพทยสภา ได้ประกาศใช้ เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2567 และให้มีผลบังคับใช้กับนักศึกษาที่เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2567 ดังนั้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว | |||
เป็นโรงเรียนแพทย์ที่มุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และประพฤติตนเหมาะสมกับความเป็นแพทย์ มีความรู้และมีพหุศักยภาพ สามารถปฏิบัติงานในระบบสุขภาพของประเทศไทย มีเจตคติที่ดีต่อการทำงานในชุมชนที่มีความแตกต่างของสังคม วัฒนธรรมและทรัพยากร รู้เท่าทันพลวัตของสุขภาพโลก มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดยหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมีการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวทุกชั้นปี ตั้งแต่ปี 1-6 เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ตามวิสัยทัศน์ของสำนักวิชาและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |||
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาในรูปแบบใหม่ ๆ (AR, VR, high-fidelity simulation) ช่วยสนับสนุนให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ที่ศึกษาและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้โจทย์ปัญหาของผู้ป่วยที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติมากยิ่งขึ้น | |||
ยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดให้กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เป็น 1 ใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายผลักดันให้เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “สร้างมูลค่า” ใหม่ เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน นับเป็นโอกาสดีที่ สำนักวิชาฯ จะพัฒนาสมรรถนะหลัก ด้านการสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และใช้สมรรถนะดังกล่าวในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์จากผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติและทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง | |||
ทิศทางนโยบายขององค์กรภาครัฐขนาดใหญ่/ บริษัทห้างร้านเอกชน ต่างมีความตื่นตัวต่อกระแสของสังคมที่คาดหวังให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นโอกาสที่ดีของสำนักวิชาฯ ที่จะพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการขยายโครงการสร้างสรรค์ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal contributions) และตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านการบรรลุ SDGs (Sustainable Development Goals), Bio-circular Economy (BCG) | |||
ปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้นักเรียนรุ่นใหม่อาจจะมีความสนใจเข้ามาเรียนแพทย์น้อยลง | |||
ระบบบริหารจัดสอบผ่านระบบออนไลน์และคลังข้อสอบ รวมทั้งระบบกำกับติดตามความก้าวหน้าในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ระดับหลักสูตรของนักศึกษาของสำนักวิชาฯ ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ ทำให้สถาบันร่วมผลิตดำเนินการจัดสอบแบบต่างคนต่างทำ ส่งผลให้การวัดและประเมินผลยังไม่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน และการกำกับติดตามผลสัมฤทธิ์ของการพัฒนาทักษะด้านต่าง ๆ ยังไม่มีประสิทธิภาพ | |||
มีการจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แต่การจัดการความรู้ที่มุ่งสร้างและจัดการความรู้สำคัญของสำนักวิชาฯ การวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศจากแหล่งต่าง ๆ เพื่อสร้างความรู้ขององค์กร บ่งชี้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีปฏิบัติที่ดีในองค์กร รวมทั้งรวบรวมและถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคลากร เพื่อให้การเรียนรู้ฝังลึกเป็นวัฒนธรรมของสำนักวิชาฯ ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ยังไม่เป็นระบบที่ชัดเจน | |||
การประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ในห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 มีข้อเสนอแนะเพื่อการแปลงโฉมการศึกษาแพทย์ไทยเพื่อความอยู่ดีมีสุขของทุกคนในสังคม โดยกำหนดเป้าหมายด้านผู้เรียนโดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีทักษะทางสุขภาพดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีร่วมบริบาลผู้ป่วย เข้าใจในระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมและสุขภาพโลก สามารถปรับตัวและปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีสุขภาวะ โดยการจัดการศึกษาแพทยศาสตร์ รวมถึงการประเมินผล พึงมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าบัณฑิตมีสมรรถนะในการบริบาลผู้ป่วยแบบองค์รวมในทุกมิติ มีความเป็นวิชาชีพ พึงส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความต้องการและเป้าหมายส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจ การมีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาครูผู้สอน กิจกรรม และระบบนิเวศการเรียนรู้ ที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ซึมซับประสบการณ์การเรียนรู้และกระตุ้นการสะท้อนคิด เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้ตอบสนองต่อข้อเสนอแนะดังกล่าว | |||
ความก้าวหน้าของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมของวิถีชีวิตและรูปแบบการทำงาน (disruptive changes) โดยเน้นการทำงานและการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ มฟล. และสำนักวิชาฯ มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีโดยการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ | |||
แผนปฏิบัติด้านการสร้างประโยชน์ให้สังคมของสำนักวิชาฯ ยังไม่ชัดเจนและเป็นระบบ โดยเฉพาะการตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านการบรรลุ SDGs (Sustainable Development Goals) และ Bio-circular Economy (BCG) | |||
สำนักวิชาแพทยศาสตร์อยู่ในช่วงของการขยายศักยภาพเพื่อการเติบโต (เพิ่มศักยภาพในการรับนักศึกษาแพทย์ และพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการแพทย์สาขาต่าง ๆ) ทำให้มีทุนต้นสังกัดส่งแพทย์ใช้ทุนไปฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ และอนุสาขา จำนวนมาก | |||
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการลดลง อัตราการออมลดลง ส่งผลต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียน เกิดการแย่งชิงแรงงานและเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐ ส่งผลให้สำนักวิชาฯ ต้องปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตแพทย์มีสมรรถนะในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อาจทำให้บัณฑิตแพทย์ที่ออกไปทำงานในระบบบริการสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการจัดบริการทางการแพทย์ที่ด้อยประสิทธิภาพ | |||
ระบบการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ในรอบที่ 2 (รอบโควตา) มักจะไม่ได้ครบตามจำนวน เนื่องจากมีผู้สละสิทธิ์ หรือไม่มาสัมภาษณ์ โดยเลือกไปเรียนที่สถาบันอื่นในกรุงเทพมหานคร หรือสถาบันผลิตแพทย์ที่ตั้งมายาวนาน | |||
มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นประจำทุกปี เพื่อทบทวนผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ทบทวนการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่สำคัญ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร เสนอโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปี ส่งผลให้สามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ | |||
ผลผลิตด้านตำรา หรือ e-book และบริการวิชาการแก่สังคมในรูปแบบของ non-degree program เพื่อ re-skill, up-skill หรือเรียนรู้ new skill ของบุคลากรทางการแพทย์ ยังมีน้อยและเข้าถึงยาก รวมทั้งยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายที่จะสร้างบทเรียนเพื่อให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไป เพื่อสนับสนุนแผนยุทธศาสตร์ชาติ ๒๐ ปี ทำให้ขาดภาพลักษณ์ของการเป็นสำนักวิชาฯ ที่มีบริการวิชาการแก่สังคมอย่างเด่นชัด | |||
กระแสความสนใจในปัญหาสุขภาพของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีพิษ ฝุ่นละออง เสียงดัง การทำงานออกแรงในท่าทางต่าง ๆ ซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้คนงานแต่ละคนเกิดโรคจากการทำงานขึ้น (อาชีวเวชศาสตร์) ทำให้แพทย์หันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพของคนทำงานมากขึ้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นดังกล่าว เพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่ตระหนักในความสำคัญของปัญหาด้านอาชีวเวชศาสตร์ และสามารถให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากการทำงานได้ | |||
เนื่องจากแพทยสภามีโครงการเพิ่มพูนทักษะนำร่องในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้บัณฑิตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันผลิตแพทย์เอกชนในประเทศไทย หรือสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง โดยเป็นโครงการต่อเนื่อง 2 ปี หลังจากสิ้นสุดโครงการ แพทยสภามีแผนที่เปิดโอกาสให้โรงพยาบาลที่มีความประสงค์จะเป็นสถานที่ปฏิบัติงานของโครงการเพิ่มพูนทักษะสำหรับแพทย์กลุ่มดังกล่าวสมัครเข้ารับการประเมิน เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะร่วมมือกับโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ พัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าร่วมโครงการนี้เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาสำหรับการเป็นสถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกหลัก (โรงพยาบาลหลัก) ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในลำดับต่อไป | |||
กระบวนการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนานักศึกษาแพทย์ที่มีศักยภาพเพื่อบ่มเพาะให้มีโอกาสสร้างผลงานวิจัย หรือผลงานด้านนวัตกรรม (โครงการกล้าไม้แม่ฟ้าหลวง) ยังอยู่ในช่วงเริ่มต้น ทำให้ยังไม่มีนักศึกษาแพทย์ที่สมัครเข้าสู่โครงการเยาวชนรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล | |||
มีระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ร่วมกับส่วนกลาง (TCAS) โดยดำเนินการในรอบที่ 2 (TCAS2) ภายใต้โครงการโควตาภาคเหนือ (24 คน) ซึ่งรับจากผู้มีภูมิลำเนาอยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และรอบที่ 3 โดยรับตรงร่วมกับ กสพท (16 คน) รับจากทั่วประเทศ รวมปีละ 40 คน | |||
การระบุโอกาสเชิงกลยุทธ์ และกระตุ้นให้เกิดการสร้างนวัตกรรม ยังไม่ชัดเจน กระบวนการกำหนดว่าโอกาสใดจะแสวงหาการสร้างนวัตกรรม ยังอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและเรียนรู้ ยังไม่ได้กำหนดเป้าหมายให้ชัดเจน ทำให้มีจำนวนผลงานนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ที่สามารถนำไปขยายผลและสร้างผลกระทบในวงกว้างมีน้อย | |||
พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่งผลให้คนไทยมีหลักประกันสุขภาพ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นได้ โดยเฉพาะการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพ และการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรในส่วนของวิทยาศาสตร์ระบบสุขภาพ (Health Systems Science) เพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่เข้าใจระบบบริการสุขภาพ และภาพรวมของระบบสุขภาพของประเทศ ตลอดจนแนวคิดเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและแสดงบทบาทเชิงรุกเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค | |||
ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้สำนักวิชาฯ สามารถใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของสำนักวิชาฯ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะนักเรียน ม.ปลาย และผู้ปกครอง ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น | |||
การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของการเจ็บป่วย พบว่ามีแนวโน้มของโรคและความผิดปกติที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะใช้ศักยภาพในการเป็นแหล่งความรู้สำหรับประชาชนเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อยกระดับสุขภาพของประชาชน | |||
สถาบันผลิตแพทย์หลายสถาบันได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ ที่มีลักษณะ Combined or Dual degree เพื่อดึงดูดนักเรียนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจที่จะศึกษาด้านการแพทย์และด้านวิศวกรรม เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ โดยพัฒนาความร่วมมือกับสำนักวิชาฯ อื่น ๆ ในอนาคต เช่น สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Dual degree in Public Health & MD) เป็นต้น | |||
คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy เป็นวาระแห่งชาติ” ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 โดย อว. มอบนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษา นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปตอบโจทย์ และแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม (เกษตรกร และชุมชน) รวมถึงสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพิจารณานำความรู้ที่มีไปสนับสนุนชุมชนเป้าหมายของสำนักวิชาฯ ในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้กับผู้ผลิตเดิมในชุมชน | |||
ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ใหม่ ยังขาดระบบการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อรองรับระบบการจัดสอบแบบรวมการของทุกภาควิชา โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และแผนพัฒนาให้เป็นศูนย์ทดสอบ (e-testing center) ที่ทันสมัย | |||
คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้ประกาศใช้ มาตรฐานคุณวุฒิในวิชาแพทยศาสตร์ ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2566 โดยกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีทางด้านแพทยศาสตร์ ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ในรอบการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว | |||
โครงสร้างใหม่ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และการวิจัย ทำให้มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านนโยบายฯ เพื่อทำหน้าที่จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เช่น สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา ฯ (สอวช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รวมทั้งหน่วยงานด้านการให้ทุน ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) นับเป็นโอกาสดีของสำนักวิชาฯ ที่จะเตรียมเสนอโครงการวิจัยของสถาบันที่จะตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว | |||
มีระบบกำกับติดตามกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานชุดต่าง ๆ โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนฯ และคณะกรรมการติดตามบัณฑิต ส่งผลให้มีการพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง | |||
นโยบายของกระทรวงอุดมศึกษาที่ต้องการให้สถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยพัฒนาสมรรถนะกำลังคนวัยแรงงานเพื่ออนาคต ผ่านการสร้างหลักสูตรระยะสั้น (Non-degree education) ตามความเชี่ยวชาญและบริบทของสถาบัน เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ จะพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อ upskill, reskill และพัฒนา new skill เช่น Point-of-care Ultrasound เป็นต้น | |||
มีโครงการแนะแนวสัญจร และโครงการสัมมนาครูแนะแนว ที่จัดโดยฝ่ายรับนักศึกษา ส่วนทะเบียนและประเมินผล มฟล. และโครงการ Open House ที่จัดโดยสโมสรนักศึกษาแพทย์ มฟล. เพื่อแนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องการใช้ชีวิตของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง | |||
มีระบบการรับฟังเสียงของลูกค้า ครอบคลุมทั้งนักศึกษาปัจจุบัน (ลูกค้าปัจจุบัน) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา (ลูกค้าในอดีต) และนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่สนใจศึกษาต่อในสาขาแพทยศาสตร์ (ลูกค้าในอนาคต) เพื่อนำสารสนเทศที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาความผูกพันกับลูกค้า | |||
มีระบบการสรรหาอาจารย์ผู้ช่วย โดยคัดเลือกจากนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาที่ได้รับการจัดสรรจากคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ฯ เพื่อมาปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามสัญญา โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักวิชา และผู้แทนจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและประสงค์จะไปฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาที่เป็นความต้องการของทั้งสำนักวิชาฯ และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ | |||
พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ถือว่าเป็น “ธรรมนูญสุขภาพของประเทศไทย” มีเจตนารมณ์ให้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบทางสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วกับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เนื่องมาจากการดำเนินนโยบายการพัฒนา หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยหวังผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในทางเลือกที่ดีที่สุด เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่เข้าใจแนวคิดของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ และสามารถเชื่อมโยงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองกับบทบาทที่ได้กำหนดไว้ใน พรบ. ฉบับนี้ | |||
คะแนนรวม |