SWOT
ประเด็น | |||
ความมุ่งมั่นทุ่มเทของทีมผู้บริหารสำนักวิชาฯ ในการพัฒนาระบบบริหารที่มีประสิทธิภาพและมีธรรมาภิบาล โดยนำเกณฑ์คุณภาพการศึกษาเพื่อการดำเนินการที่เป็นเลิศ (EdPEx) และเกณฑ์มาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ (ระดับแพทยศาสตรบัณฑิต) (WFME) ไปสู่การปฏิบัติ เพื่อยกระดับคุณภาพของระบบบริหารจัดการของสำนักวิชาฯ ภายใต้ค่านิยม MFU FIRST โดยมีทีมงานที่มีประสบการณ์การบริหารงานแพทยศาสตรศึกษาและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง (WFME และ EdPEx) | |||
สภามหาวิทยาลัยและผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย มีนโยบายสนับสนุนการพัฒนาเพื่อขยายศักยภาพและการเติบโตของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เพื่อให้เป็นสถาบันทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานสากล เพื่อชุมชนอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง | |||
เป็นโรงเรียนแพทย์ที่ตั้งอยู่ในจังหวัดเหนือสุดของประเทศ เป็นศูนย์กลางเชื่อมโยงกับประเทศกลุ่มลุ่มน้ำโขง (GMS : Greater Mekong Sub region) มีโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง และมีเครือข่ายความร่วมมือกับศูนย์การแพทย์ มฟล. ได้แก่ ศูนย์บริการสุขภาพแบบครบวงจรแห่งภาคเหนือและอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เชียงราย รวมทั้งสำนักวิชาด้านสุขภาพ ได้แก่ สนว.ทันตแพทยศาสตร์ สนว.วิทยาศาสตร์สุขภาพ สนว.การแพทย์บูรณาการ และ สนว.พยาบาลศาสตร์ ช่วยสนับสนุนแผนความร่วมมือกับประเทศต่าง ๆ ในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง (GMS) | |||
อาคารเรียนและปฏิบัติการแห่งใหม่ของสำนักวิชาฯ ขนาดพื้นที่ใช้สอย 34,570 ตร.ม. มีห้องเรียนหลากหลายขนาด ห้องเรียนกลุ่มย่อย ห้องปฏิบัติการ ห้องสมุดและ co-working space (รอการปรับปรุง) ศูนย์ฝึกผ่าตัด (Cadaveric surgical training center) ห้องปฏิบัติการกลางวิจัยที่มีขีดความสามารถในการวิเคราะห์ทดสอบขั้นสูง เช่น LC-QTOF, LC-QqQ, ICP-MS/MS, GC-MS, NMR, FE-SEM, XRD, TGA, HPLC, ICP-OES และ NGS รวมทั้งพื้นที่สำหรับพัฒนาเป็นโรงพยาบาลจำลอง และห้องปฏิบัติการเพิ่มเติมเพื่อรองรับการเพิ่มจำนวนนักศึกษาเป็นปีละ 100 คน ในอนาคต | |||
มีคณาจารย์ในระดับปรีคลินิกที่มีความรู้และประสบการณ์ เอาใจใส่ดูแลนักเรียนอย่างใกล้ชิด พัฒนารูปแบบการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง โดยบูรณาการทั้งแนวราบและแนวดิ่ง ผลิตผลงานวิจัยที่ได้รับการเผยแพร่ในระดับชาติและนานาชาติ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาประจำรายวิชา อาจารย์ที่ปรึกษากลุ่ม และอาจารย์ที่ปรึกษาของ นศพ. | |||
มีทีมกิจการนักศึกษาที่เข้มแข็งที่ทำงานร่วมกับสโมสรนักศึกษาแพทย์ มฟล. เพื่อพัฒนาศักยภาพนักศึกษาผ่านกิจกรรมทั้งในหลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตร โดยร่วมกับชมรมต่าง ๆ ของสโมสรฯ เช่น ชมรมกีฬา รวมทั้งกิจกรรมอื่น ๆ เช่น พิธีทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา และพิธีพระราชทานเพลิงศพผู้อุทิศร่างกายเพื่อการศึกษา เพื่อพัฒนาสมรรถนะด้านการบริหารจัดการของนักศึกษา มีทุนการศึกษาให้นักศึกษาแพทย์ที่มีความจำเป็นตามนโยบายของมหาวิทยาลัย | |||
อาคารเรียนและปฏิบัติการของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มีทางเดินเชื่อมกับโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง ซึ่งที่ตั้งของสำนักวิชาอยู่ใกล้สนามบินแม่ฟ้าหลวง ซึ่งเป็นสนามบินนานาชาติ ทำให้มีความได้เปรียบด้านระบบคมนาคม สะดวกต่อการเดินทาง และมีสายการบินที่จัดเที่ยวบินทั้งในประเทศและต่างประเทศจำนวนมาก ตลอดทั้งวัน | |||
หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564 เป็นหลักสูตรที่ผ่านการรับรองตามมาตรฐานการศึกษาแพทยศาสตร์ระดับสากล (ระดับแพทยศาสตรบัณฑิต) (WFME) ซึ่งมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้เกิดผลลัพธ์การเรียนรู้ตามที่กำหนดไว้ในหลักสูตรทั้ง 6 ด้าน โดยเน้น กลยุทธ์การเรียนรู้แบบ active learning | |||
สมรรถนะหลักของสำนักวิชาฯ คือ การผลิตบัณฑิตแพทย์ที่สามารถประกอบเวชปฏิบัติในชุมชน ภายใต้บริบทที่มีความหลากหลายของสังคมและวัฒนธรรม โดยสำนักวิชาฯ ใช้สมรรถนะหลักเพื่อสนับสนุนการผลิตแพทย์โดยร่วมกับโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท | |||
มีหน่วยวิจัยของสำนักวิชาฯ จำนวน 2 หน่วย ได้แก่ หน่วยวิจัยมะเร็งและภูมิคุ้มกันวิทยา (Cancer and Immunology Research Unit, CIRU) และกลุ่มวิจัยนวัตกรรมชีววัสดุและเครื่องมือแพทย์ (Research Group of Innovative Biomaterials and Medical Device (IBMC) ซึ่งผลิตผลงานวิจัยตีพิมพ์ นวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์ ที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศ | |||
มีหลักสูตรวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์พาราคลินิก ที่อยู่ระหว่างการนำเข้าสู่การพิจารณาของสภาวิชาการ และสภามหาวิทยาลัยฯ มุ่งผลิตบัณฑิตพึงให้มีความรู้แบบพหุวิทยาการ ด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์พื้นฐานและวิทยาศาสตร์คลินิก สามารถปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความชำนาญในการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ เพื่อบูรณาการเทคนิควิธีวิจัยกับความรู้จากหลากหลายอนุสาขาวิชา เช่น กายวิภาคศาสตร์ สรีรวิทยา ชีววิทยา ภูมิคุ้มกันวิทยา เภสัชวิทยา พยาธิวิทยา การบริหารจัดการ และ/หรือวิทยาศาสตร์คลินิก เพื่อสร้างสรรค์งานวิจัย นวัตกรรมสิ่งใหม่ที่นำมาใช้แก้ปัญหาสุขภาพที่สำคัญ และเพื่อเตรียมพร้อมกับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว | |||
มีโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงที่อยู่ระหว่างการพัฒนาศักยภาพให้เป็น รพ. ขนาด 317 เตียง เป็นสถานที่ปฏิบัติงานของโครงการเพิ่มพูนทักษะแพทย์ของแพทยสภา และเป็นสถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกหลัก (โรงพยาบาลหลัก) ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสำนักวิชาฯ ในปีการศึกษา 2569 | |||
มีสถาบันร่วมผลิตที่มีศักยภาพสูงในการจัดการศึกษาชั้นคลินิกตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลกลาง ในสังกัดสำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร และโรงพยาบาลลำพูน ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข รวมทั้งโรงพยาบาลสมทบชุมชนและโรงพยาบาลทั่วไป และอยู่ระหว่างการจัดทำบันทึกความร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข เพื่อเข้าร่วมโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยมีโรงพยาบาลน่าน เป็นสถาบันร่วมผลิตแห่งที่ 4 | |||
มีมหาวิทยาลัยในต่างประเทศที่มีชื่อเสียงและมีความเข้มแข็งทางวิชาการเป็นคู่ความร่วมมือ โดยเฉพาะ Oregon Health & Science University, Kumamoto University, Kunming Medical University, University of Texas Southwestern Medical School | |||
มีคณะกรรมการบริหารสำนักวิชา ประกอบด้วย คณบดี รองคณบดี (3 ฝ่าย) ผู้ช่วยคณบดี (3 ฝ่าย) หัวหน้าเลขานุการ และผู้ช่วยเลขานุการ ประชุมเดือนละ 1 ครั้ง โดยมีคณะกรรมการประจำสำนักวิชา เป็นคณะกรรมการกำกับดูแลองค์กร ประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ 1 คน คณบดี รองคณบดี 3 คน และกรรมการจากคณาจารย์ประจำ จำนวน 2 คน มาจากการเลือกตั้ง รวม 7 คน มีการประชุมคณะกรรมการประจำสำนักวิชา ทุก 1-2 เดือน มีระบบกำกับดูแลองค์กรภายนอกสำนักวิชา ได้แก่ สำนักงานตรวจสอบภายใน มฟล. ตรวจสอบการใช้งบประมาณของสำนักวิชา และสำนักงานตรวจสอบเงินแผ่นดิน | |||
มีช่องทางของการสื่อสารสองทางภายในสำนักวิชาฯ ที่หลากหลาย ได้แก่ การประชุมคณะกรรมการบริหารสำนักวิชาฯ (ทุกเดือน)การประชุม SMT (ทุกสัปดาห์) การประชุม จนท.บริหาร (ทุกสัปดาห์) ผู้บริหารเดินสายเยี่ยมสาขาวิชาต่าง ๆ การประชุมสำนักวิชาฯ (ทุกเดือน) การประชุมคณะกรรมการและคณะทำงานชุดต่าง ๆ (ตามวงรอบที่กำหนด) รวมทั้งใช้วิธีการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ เช่น Line และ Facebook | |||
มีเครือข่ายความร่วมมือที่ดีในระดับพื้นที่เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ให้บัณฑิตแพทย์มีความเข้าใจระบบบริการสุขภาพระดับปฐมภูมิ และทุติยภูมิ การดูแลสุขภาพเป็นองค์รวมและการดูแลแบบผสมผสานครบทุกมิติทางกาย จิต สังคมและจิตวิญณาณ ทั้งระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชน ได้แก่ โรงพยาบาลชุมชน และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ในเขตสุขภาพที่ 1 | |||
มีวารสารทางวิชาการ Greater Mekong Subregion Medical Journal (GMSJ) ซึ่งเป็นวารสารระดับนานาชาติของสำนักวิชาฯ ที่จัดอยู่ใน Tier 2 ของ TCI (และอยู่ระหว่างรอการประเมินเพื่อเข้าสู่ Tier 1 ของ TCI) ช่วยส่งเสริมและสนับสนุนให้อาจารย์มีผลงานวิจัยตีพิมพ์และเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการเพิ่มขึ้น | |||
มีระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรที่เข้มแข็ง โดยนำผลการประเมินไปพิจารณาขึ้นเงินเดือนประจำปี ต่อสัญญาจ้าง พัฒนาสมรรถนะของบุคลากร ปรับปรุงการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และให้รางวัลแก่ผู้มีผลการปฏิบัติงานดีเยี่ยม | |||
เป็นโรงเรียนแพทย์ที่มุ่งผลิตบัณฑิตแพทย์ที่มีคุณธรรม จริยธรรม และประพฤติตนเหมาะสมกับความเป็นแพทย์ มีความรู้และมีพหุศักยภาพ สามารถปฏิบัติงานในระบบสุขภาพของประเทศไทย มีเจตคติที่ดีต่อการทำงานในชุมชนที่มีความแตกต่างของสังคม วัฒนธรรมและทรัพยากร รู้เท่าทันพลวัตของสุขภาพโลก มีทักษะการเรียนรู้ตลอดชีวิต และร่วมสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการพัฒนา โดยหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตมีการจัดการเรียนการสอนเนื้อหาเวชศาสตร์ชุมชนและเวชศาสตร์ครอบครัวทุกชั้นปี ตั้งแต่ปี 1-6 เพื่อผลิตบัณฑิตแพทย์ตามวิสัยทัศน์ของสำนักวิชาและมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง | |||
สำนักวิชาแพทยศาสตร์อยู่ในช่วงของการขยายศักยภาพเพื่อการเติบโต (เพิ่มศักยภาพในการรับนักศึกษาแพทย์ และพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านการแพทย์สาขาต่าง ๆ) ทำให้มีทุนต้นสังกัดส่งแพทย์ใช้ทุนไปฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญสาขาต่าง ๆ และอนุสาขา จำนวนมาก | |||
มีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเป็นประจำทุกปี เพื่อทบทวนผลการดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ ทบทวนการเปลี่ยนแปลงภายนอกที่สำคัญ วิเคราะห์สภาพแวดล้อมองค์กร เสนอโครงการที่สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์เพื่อนำไปบรรจุในแผนปฏิบัติการประจำปี ส่งผลให้สามารถดำเนินการเพื่อให้บรรลุเป้าประสงค์และวัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ์ได้อย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ | |||
มีระบบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ร่วมกับส่วนกลาง (TCAS) โดยดำเนินการในรอบที่ 2 (TCAS2) ภายใต้โครงการโควตาภาคเหนือ (24 คน) ซึ่งรับจากผู้มีภูมิลำเนาอยู่ใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และรอบที่ 3 โดยรับตรงร่วมกับ กสพท (16 คน) รับจากทั่วประเทศ รวมปีละ 40 คน | |||
มีระบบกำกับติดตามกระบวนการและผลสัมฤทธิ์ของหลักสูตรที่มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตรฯ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานชุดต่าง ๆ โดยเฉพาะคณะอนุกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนฯ และคณะกรรมการติดตามบัณฑิต ส่งผลให้มีการพัฒนาการเรียนการสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผลให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง | |||
มีโครงการแนะแนวสัญจร และโครงการสัมมนาครูแนะแนว ที่จัดโดยฝ่ายรับนักศึกษา ส่วนทะเบียนและประเมินผล มฟล. และโครงการ Open House ที่จัดโดยสโมสรนักศึกษาแพทย์ มฟล. เพื่อแนะนำหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตให้แก่นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่สนใจ มีการใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ เรื่องการใช้ชีวิตของนักศึกษาอย่างต่อเนื่อง | |||
มีระบบการรับฟังเสียงของลูกค้า ครอบคลุมทั้งนักศึกษาปัจจุบัน (ลูกค้าปัจจุบัน) บัณฑิตที่สำเร็จการศึกษา (ลูกค้าในอดีต) และนักเรียนชั้นมัธยมปลายที่สนใจศึกษาต่อในสาขาแพทยศาสตร์ (ลูกค้าในอนาคต) เพื่อนำสารสนเทศที่ได้มาพัฒนาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนและสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ รวมทั้งพัฒนาความผูกพันกับลูกค้า | |||
มีระบบการสรรหาอาจารย์ผู้ช่วย โดยคัดเลือกจากนักศึกษาแพทย์ผู้ทำสัญญาที่ได้รับการจัดสรรจากคณะกรรมการพิจารณาจัดสรรนักศึกษาแพทย์ฯ เพื่อมาปฏิบัติงานชดใช้ทุนตามสัญญา โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ที่ประกอบด้วย ผู้บริหารสำนักวิชา และผู้แทนจากโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ เพื่อคัดเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมและประสงค์จะไปฝึกอบรมเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางในสาขาที่เป็นความต้องการของทั้งสำนักวิชาฯ และโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ | |||
คะแนนรวม |