SWOT@MFU-SOM

SWOT ANALYSIS

รายงานคะแนนประเด็นความเห็น

SWOT S W O T

SWOT
ลำดับที่ CODE ประเด็น คะแนน
1 O06 กสพท อยู่ระหว่างการดำเนินการจัดทำโครงการผลิตแพทย์เพิ่มแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2571-2580 เพื่อเสนอขออนุมัติต่อ ครม. เป็นโอกาสดีทำให้สำนักวิชาฯ ปรับแผนการรับนักศึกษาโดยเข้าร่วมโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท (ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข โดยมีโรงพยาบาลน่าน เป็นสถาบันร่วมผลิต) และขยายศักยภาพในการรับนักศึกษาโดยร่วมมือกับ สถาบันร่วมผลิตเดิม รวมทั้งพัฒนาโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง เป็นโรงพยาบาลหลัก ทำให้ สนว.แพทยศาสตร์ มีศักยภาพในการรับนักศึษาจำนวน 100 คน ต่อปี ในปีการศึกษา 2576 (ทำให้ สนว.แพทยศาสตร์ มฟล. เป็นโรงเรียนแพทย์ขนาดกลาง) 24
2 O16 นักเรียนรุ่นใหม่จัดเป็นคนรุ่นใหม่ (Generation millennium or generation alpha) เป็นผู้เรียนที่เติบโตมาในช่วงที่เทคโนโลยีดิจิทัลและสารสนเทศพัฒนาไปมากแล้ว (Digital Natives) มีความต้องการและความคาดหวังที่แตกต่างไปจากผู้เรียนในอดีต เช่น ต้องการรับข้อมูลข่าวสารต่าง ๆ ด้วยความรวดเร็ว ชอบทำงานหลาย ๆ อย่างพร้อมกัน ชอบสารสนเทศที่เป็นภาพมากกว่าตัวอักษร ทำงานได้ดีเมื่อรวมกลุ่มกัน ต้องการคำชมทันทีและชอบการได้รางวัลบ่อย ๆ (instant gratification and frequent rewards) ชอบเล่นเกมส์มากกว่าชอบทำงานที่จริงจัง เป็นโอกาสดีที่อาจารย์ของสำนักวิชาฯ จะนำรูปแบบการเรียนการสอนใหม่ ๆ มาใช้ โดยเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ (co-creation) และมีส่วนร่วมในการเรียนรู้มากขึ้น แทนการนั่งฟังบรรยายแบบดั้งเดิม 18
3 O05 ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี Artificial Intelligence (AI) อย่างก้าวกระโดดจากการพัฒนาขีดความสามารถของชิปประมวลผล (CPU, GPU) ในปัจจุบัน ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี 6G ที่มีความสามารถในการขนส่งข้อมูลที่เร็วขึ้นโดยเร็วกว่า 5G 1,000 เท่า รวมทั้งการพัฒนาเครือข่าย WiFi 7/ 7E ในอนาคต ทำให้การเข้าถึงข้อมูลขนาดใหญ่ในเวลาไม่กี่วินาที ส่งผลให้ระบบการศึกษาและภูมิทัศน์ในการเรียนรู้ของนักเรียนมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ขยายพื้นที่การเรียนรู้ของนักศึกษาออกไปนอกห้องเรียน นักศึกษาสามารถเข้าถึงข้อมูลและเรียนรู้ได้ในทุกที่ ทุกเวลา จากหลากหลายช่องทาง เช่น การเรียนรู้ทางไกล เรียนรู้ตามกลุ่มความสนใจ เป็นต้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาสมรรถนะหลักด้านการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อสนับสนุนการบรรลุพันธกิจทุกด้าน (การศึกษา การวิจัย และการให้บริการวิชาการแก่สังคม) รวมทั้งนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาพัฒนาทักษะดิจิทัลของนักศึกษาเพื่อให้พร้อมสำหรับการทำงานในระบบนิเวศใหม่ของระบบสาธารณสุขไทยในอนาคต 17
3 O21 ปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำ เพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้นักเรียนรุ่นใหม่อาจมีความสนใจเข้ามาเรียนแพทย์เพิ่มขึ้น 17
3 O18 ประเทศไทยกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ คือ มีประชากรอายุ 60 ปี ขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ การเพิ่มขึ้นของประชากรวัยสูงอายุจะก่อให้เกิดความต้องการสวัสดิการสังคมมากขึ้น เช่น การรักษา พยาบาล การดูแลผู้สูงอายุ ระบบบำนาญ เป็นต้น ขณะที่ระดับรายได้ต่อหัว/การออมของประชาชนยังอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลให้เกิดแรงกดดันต่อภาระด้านงบประมาณของภาครัฐเพื่อใช้จัดสวัสดิการสังคมโดยตรงทำให้ปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะกลุ่มโรคเรื้อรังมีแนวโน้มสูงขึ้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรให้บัณฑิตที่จบใหม่สามารถทำหน้าที่เสริมพลังให้ผู้สูงอายุมีสุขภาวะได้โดยเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ 17
6 O17 ชื่อเสียงของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง โรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ โรงพยาบาลกลาง และโรงพยาบาลลำพูน (สถาบันร่วมผลิต) เป็นเงื่อนไขสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้ผู้ปกครองแนะนำให้บุตรหลานเลือกเรียนแพทย์ที่ มฟล. ปัจจุบันโรงพยาบาลทั้ง 4 แห่ง ได้รับการรับรองจากสถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำมาใช้ประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ปกครองและนักเรียนในชั้นมัธยมตอนปลาย ทราบและสนใจที่จะสมัครมาศึกษาที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ มฟล. มากขึ้น 14
7 O03 กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และการวิจัย มีจุดมุ่งหมายให้สถาบันอุดมศึกษาใช้ความสามารถ/ศักยภาพ เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใหม่โดยมีมหาวิทยาลัยเป็นฐานในการพัฒนา รวมทั้งการขับเคลื่อนของ อว. ด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศไทย (SDGs) ภายใต้แนวคิดการเปลี่ยนแปลงระดับฐานราก เป็นโอกาสที่ดีของสำนักวิชาฯ ที่จะผลักดันแผนงานโครงการเพื่อสนับสนุนนโยบาย SDGs ในส่วนที่เกี่ยวข้อง 12
7 O09 แพทยสภา อยู่ระหว่างการแก้ไขข้อบังคับ ศรว. เพื่อปรับเปลี่ยนรูปแบบการสอบเพื่อประเมินและรับรองความรู้ความสามารถในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม โดยการสอบด้านความรู้ จะรวมการสอบขั้นตอนที่ 1 และ 2 เข้าด้วยกัน โดยนักศึกษาสามารถเข้าสอบได้เมื่อผ่านระยะเวลาเรียนไปแล้วไม่น้อยกว่า 2/3 ของระยะเวลาของหลักสูตร สำหรับการสอบทักษะทางคลินิก ยังคงเหมือนเดิม เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 12
7 O10 แพทยสภา ได้ประกาศใช้ เกณฑ์ความรู้ความสามารถในการประเมินเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2567 และให้มีผลบังคับใช้กับนักศึกษาที่เข้าศึกษาในชั้นปีที่ 1 ในปีการศึกษา 2567 ดังนั้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 12
10 O11 ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยีทางการศึกษาในรูปแบบใหม่ ๆ (AR, VR, high-fidelity simulation) ช่วยสนับสนุนให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่มุ่งเน้นการบูรณาการความรู้ที่ศึกษาและประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้โจทย์ปัญหาของผู้ป่วยที่พบบ่อยในเวชปฏิบัติมากยิ่งขึ้น 11
10 O01 ยุทธศาสตร์ชาติ กำหนดให้กลุ่มสาธารณสุข สุขภาพ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ เป็น 1 ใน 5 กลุ่มเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งเป้าหมายผลักดันให้เป็นโครงสร้างเศรษฐกิจอุตสาหกรรม “สร้างมูลค่า” ใหม่ เพื่อสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน นับเป็นโอกาสดีที่ สำนักวิชาฯ จะพัฒนาสมรรถนะหลัก ด้านการสร้างสรรค์งานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์ปัญหาสุขภาพของอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และใช้สมรรถนะดังกล่าวในการผลักดันให้เกิดนวัตกรรมและสิ่งประดิษฐ์จากผลงานวิจัยเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ชาติและทำให้เกิดผลกระทบในวงกว้าง 11
12 O19 ทิศทางนโยบายขององค์กรภาครัฐขนาดใหญ่/ บริษัทห้างร้านเอกชน ต่างมีความตื่นตัวต่อกระแสของสังคมที่คาดหวังให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม เป็นโอกาสที่ดีของสำนักวิชาฯ ที่จะพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการขยายโครงการสร้างสรรค์ที่มีเป้าหมายเพื่อสร้างประโยชน์ให้สังคม (Societal contributions) และตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติด้านการบรรลุ SDGs (Sustainable Development Goals), Bio-circular Economy (BCG) 9
13 O07 การประชุมแพทยศาสตรศึกษาแห่งชาติ ครั้งที่ 10 ในห้วงเดือนพฤศจิกายน 2567 มีข้อเสนอแนะเพื่อการแปลงโฉมการศึกษาแพทย์ไทยเพื่อความอยู่ดีมีสุขของทุกคนในสังคม โดยกำหนดเป้าหมายด้านผู้เรียนโดยมุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีศักยภาพในการเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีทักษะทางสุขภาพดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยีร่วมบริบาลผู้ป่วย เข้าใจในระบบบริการสุขภาพพหุวัฒนธรรมและสุขภาพโลก สามารถปรับตัวและปฏิบัติงานร่วมกับสหวิชาชีพได้อย่างสมบูรณ์ เป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตที่มีสุขภาวะ โดยการจัดการศึกษาแพทยศาสตร์ รวมถึงการประเมินผล พึงมุ่งเน้นที่ผลลัพธ์การเรียนรู้ เพื่อทำให้มั่นใจว่าบัณฑิตมีสมรรถนะในการบริบาลผู้ป่วยแบบองค์รวมในทุกมิติ มีความเป็นวิชาชีพ พึงส่งเสริมการจัดการเรียนรู้โดยคำนึงถึงความต้องการและเป้าหมายส่วนบุคคลที่สอดคล้องกับความสามารถของผู้เรียน การสร้างแรงจูงใจ การมีส่วนร่วม รวมทั้งพัฒนาครูผู้สอน กิจกรรม และระบบนิเวศการเรียนรู้ ที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ซึมซับประสบการณ์การเรียนรู้และกระตุ้นการสะท้อนคิด เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำข้อเสนอแนะดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้ตอบสนองต่อข้อเสนอแนะดังกล่าว 7
14 O13 กระแสความสนใจในปัญหาสุขภาพของคนงานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องสัมผัสกับสารเคมีพิษ ฝุ่นละออง เสียงดัง การทำงานออกแรงในท่าทางต่าง ๆ ซ้ำ ๆ กันเป็นเวลานาน ซึ่งทำให้คนงานแต่ละคนเกิดโรคจากการทำงานขึ้น (อาชีวเวชศาสตร์) ทำให้แพทย์หันมาให้ความสนใจกับการดูแลสุขภาพของคนทำงานมากขึ้น เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้มีเนื้อหาครอบคลุมประเด็นดังกล่าว เพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่ตระหนักในความสำคัญของปัญหาด้านอาชีวเวชศาสตร์ และสามารถให้คำปรึกษาเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากการทำงานได้ 4
15 O23 เนื่องจากแพทยสภามีโครงการเพิ่มพูนทักษะนำร่องในเขตกรุงเทพมหานคร ในปี พ.ศ. 2566 เพื่อเปิดโอกาสให้บัณฑิตแพทย์ที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันผลิตแพทย์เอกชนในประเทศไทย หรือสถาบันผลิตแพทย์ในต่างประเทศที่แพทยสภารับรอง โดยเป็นโครงการต่อเนื่อง 2 ปี หลังจากสิ้นสุดโครงการ แพทยสภามีแผนที่เปิดโอกาสให้โรงพยาบาลที่มีความประสงค์จะเป็นสถานที่ปฏิบัติงานของโครงการเพิ่มพูนทักษะสำหรับแพทย์กลุ่มดังกล่าวสมัครเข้ารับการประเมิน เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะร่วมมือกับโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ฯ พัฒนาศักยภาพเพื่อเข้าร่วมโครงการนี้เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศทางการศึกษาสำหรับการเป็นสถานฝึกปฏิบัติทางคลินิกหลัก (โรงพยาบาลหลัก) ของหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตในลำดับต่อไป 3
16 O14 พรบ. หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ส่งผลให้คนไทยมีหลักประกันสุขภาพ สามารถเข้าถึงบริการสาธารณสุขที่จำเป็นได้ โดยเฉพาะการป้องกันและสร้างเสริมสุขภาพ และการเจ็บป่วยฉุกเฉิน เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรในส่วนของวิทยาศาสตร์ระบบสุขภาพ (Health Systems Science) เพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่เข้าใจระบบบริการสุขภาพ และภาพรวมของระบบสุขภาพของประเทศ ตลอดจนแนวคิดเศรษฐศาสตร์สาธารณสุขและแสดงบทบาทเชิงรุกเพื่อสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค 2
17 O12 ประชาชนส่วนใหญ่สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้สำนักวิชาฯ สามารถใช้อินเทอร์เน็ตและสื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสารภาพลักษณ์ของสำนักวิชาฯ เพื่อเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะนักเรียน ม.ปลาย และผู้ปกครอง ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น 1
17 O20 การเปลี่ยนแปลงทางระบาดวิทยาของการเจ็บป่วย พบว่ามีแนวโน้มของโรคและความผิดปกติที่เกิดจากพฤติกรรมการบริโภคและพฤติกรรมสุขภาพสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะใช้ศักยภาพในการเป็นแหล่งความรู้สำหรับประชาชนเพื่อให้สามารถดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อยกระดับสุขภาพของประชาชน 1
17 O22 สถาบันผลิตแพทย์หลายสถาบันได้พัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ ที่มีลักษณะ Combined or Dual degree เพื่อดึงดูดนักเรียนรุ่นใหม่ที่มีความสนใจที่จะศึกษาด้านการแพทย์และด้านวิศวกรรม เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรใหม่ ๆ โดยพัฒนาความร่วมมือกับสำนักวิชาฯ อื่น ๆ ในอนาคต เช่น สำนักวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ (Dual degree in Public Health & MD) เป็นต้น 1
17 O04 คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบให้ “การขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจ BCG หรือ Bio-Circular-Green Economy เป็นวาระแห่งชาติ” ภายใต้ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศด้วยโมเดลเศรษฐกิจ BCG พ.ศ. 2564-2569 โดย อว. มอบนโยบายให้สถาบันอุดมศึกษา นำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เข้าไปตอบโจทย์ และแก้ปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับผู้ผลิตที่เป็นฐานการผลิตเดิม (เกษตรกร และชุมชน) รวมถึงสนับสนุนให้เกิดผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าและบริการที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพิจารณานำความรู้ที่มีไปสนับสนุนชุมชนเป้าหมายของสำนักวิชาฯ ในการพัฒนาและเพิ่มมูลค่าของสินค้าให้กับผู้ผลิตเดิมในชุมชน 1
21 O08 คณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา ได้ประกาศใช้ มาตรฐานคุณวุฒิในวิชาแพทยศาสตร์ ระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2566 โดยกำหนดให้สถาบันอุดมศึกษาที่จัดการศึกษาในหลักสูตรระดับปริญญาตรีทางด้านแพทยศาสตร์ ต้องปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามประกาศนี้ในรอบการปรับปรุงหลักสูตรครั้งต่อไป เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะนำการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไปพัฒนาหลักสูตรฯ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2570 เพื่อให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว 0
21 O02 โครงสร้างใหม่ของกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ นวัตกรรม และการวิจัย ทำให้มีการจัดตั้งหน่วยงานด้านนโยบายฯ เพื่อทำหน้าที่จัดทำนโยบายและยุทธศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรมของประเทศ เช่น สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา ฯ (สอวช.) และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) รวมทั้งหน่วยงานด้านการให้ทุน ได้แก่ สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) นับเป็นโอกาสดีของสำนักวิชาฯ ที่จะเตรียมเสนอโครงการวิจัยของสถาบันที่จะตอบโจทย์ความต้องการของประเทศตามยุทธศาสตร์ดังกล่าว 0
21 O24 นโยบายของกระทรวงอุดมศึกษาที่ต้องการให้สถาบันอุดมศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตโดยพัฒนาสมรรถนะกำลังคนวัยแรงงานเพื่ออนาคต ผ่านการสร้างหลักสูตรระยะสั้น (Non-degree education) ตามความเชี่ยวชาญและบริบทของสถาบัน เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาแพทยศาสตร์ จะพัฒนาหลักสูตรระยะสั้น เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพื่อ upskill, reskill และพัฒนา new skill เช่น Point-of-care Ultrasound เป็นต้น 0
24 O15 พรบ. สุขภาพแห่งชาติ ถือว่าเป็น “ธรรมนูญสุขภาพของประเทศไทย” มีเจตนารมณ์ให้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพเป็นกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันในสังคมที่พัฒนาขึ้นมาเพื่อให้ทุกฝ่ายได้ร่วมกันพิจารณาถึงผลกระทบทางสุขภาพที่อาจจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นแล้วกับประชาชนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เนื่องมาจากการดำเนินนโยบายการพัฒนา หรือกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่ง โดยหวังผลเพื่อสนับสนุนการตัดสินใจในทางเลือกที่ดีที่สุด เป็นโอกาสดีที่สำนักวิชาฯ จะพัฒนาหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตที่จบใหม่เข้าใจแนวคิดของ พรบ.สุขภาพแห่งชาติ และสามารถเชื่อมโยงหน้าที่และความรับผิดชอบของตนเองกับบทบาทที่ได้กำหนดไว้ใน พรบ. ฉบับนี้ 0
คะแนนรวม 194