SWOT
ประเด็น | |||
การแข่งขันเพื่อขอรับการสนับสนุนการทำวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ มีแนวโน้มสูงขึ้นทั้งจากสถาบันภายในประเทศและต่างประเทศ ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายการวิจัย เพื่อเพิ่มโอกาสในการขอรับการจัดสรรงบวิจัยจากแหล่งทุนต่าง ๆ | |||
ความก้าวหน้าด้านเทคโนโลยี Artificial Intelligence ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานและการใช้ประโยชน์จากข้อมูลภายในองค์กรเพื่อสร้าง organizational intelligence ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปสู่การทำงานบนระบบฐานข้อมูล (digital platform) มากขึ้น เพื่อก้าวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงของ AI Technology | |||
ปัจจุบันมีสถาบันผลิตแพทย์ที่ได้รับการรับรองหลักสูตรตามเกณฑ์มาตรฐานสากล และตั้งอยู่ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานครเพิ่มขึ้น (ทั้งหมด 15 แห่ง ได้แก่ จุฬาฯ/ จุฬาฯ ทหารอากาศ/ รามาฯ/ รามาฯ จุฬาภรณ์/ ศิริราช/ วพม./ มศว./ มธ./ ม.นวมินทราธิราช/ ม.รังสิต/ ม.สยาม/ สจล. ลาดกระบัง/ ม.กรุงเทพธนบุรี/ ม.เวสเทิร์น/ ม.เกษตรศาสตร์) ส่งผลให้นักเรียนมัธยมปลายที่มีผลการเรียนดี-ดีมาก มีทางเลือกมากขึ้น อาจส่งผลให้สัดส่วนของผู้ที่เลือกมาศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิตของสำนักวิชาฯ ลดลง | |||
Profile ของบุคลากรใหม่ (Generation Y) มีความรักองค์กรน้อยลง ใช้เงินเก่ง มั่นใจเกิน ไม่อดทน เอาแต่ใจไร้เหตุผล ล้ำสมัย อินเทรนด์ และ บ้าแชต เป็นต้น ส่งผลให้บุคลากรกลุ่มนี้มีอายุงานสั้น จะลาออกไปหาความท้าทายแห่งใหม่ | |||
นักเรียนรุ่นใหม่จัดเป็นคนรุ่นใหม่ (Generation Z) มีความต้องการและความคาดหวังต่อสถานศึกษาที่ต่างจากในอดีต เช่น คาดหวังวิธีจัดการเรียนการสอนแบบใหม่ๆ มากกว่าการบรรยายแบบดั้งเดิม ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านอินเทอร์เน็ต ใช้สื่อสังคมออนไลน์ในการสื่อสาร เป็นต้น ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องปรับตัวเพื่อความสำเร็จอย่างยั่งยืนขององค์กร | |||
ธุรกิจบริการสุขภาพในภาคเอกชนมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและเศรษฐกิจที่ดีขึ้น ส่งผลกระทบทำให้ส่วนต่างของรายได้ของแพทย์ที่อยู่ในภาคเอกชนและภาครัฐกว้างขึ้น ทำให้สำนักวิชาฯ อาจสูญเสียอาจารย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญออกไปอยู่ในภาคเอกชน หรือย้ายไปสถาบันอื่นในเขตกรุงเทพมหานคร | |||
ความรวดเร็วของการสื่อสารผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ทำให้หากมีผู้ไม่หวังดีส่งข่าวเท็จซึ่งทำให้เกิดภาพลักษณ์เชิงลบต่อสำนักวิชาฯ และมีอิทธิพลต่อความรู้สึกของผู้ปกครองและนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายที่กำลังเลือกศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ส่งผลให้สำนักวิชาฯ จำเป็นต้องกำกับติดตามข่าวสารทางสื่อสังคมออนไลน์ เพื่อนำมาทำความเข้าใจผ่านสื่ออย่างเป็นทางการของสำนักวิชาฯ | |||
ปัจจุบันมีแนวโน้มการเกิดโรคอุบัติใหม่ หรือโรคอุบัติซ้ำ เพิ่มสูงขึ้น ทำให้เกิดผลกระทบรุนแรงต่อระบบสาธารณสุข และเศรษฐกิจของประเทศ ส่งผลให้นักเรียนรุ่นใหม่อาจจะมีความสนใจเข้ามาเรียนแพทย์น้อยลง | |||
ความก้าวหน้าของการพัฒนาด้านเทคโนโลยีอย่างก้าวกระโดด ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมของวิถีชีวิตและรูปแบบการทำงาน (disruptive changes) โดยเน้นการทำงานและการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ส่งผลให้ระบบความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ของ มฟล. และสำนักวิชาฯ มีความเสี่ยงที่จะถูกโจมตีโดยการก่ออาชญากรรมทางไซเบอร์ในรูปแบบต่าง ๆ | |||
ประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ทำให้ความต้องการสินค้าและบริการลดลง อัตราการออมลดลง ส่งผลต่อปริมาณเงินทุนหมุนเวียน เกิดการแย่งชิงแรงงานและเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของภาครัฐ ส่งผลให้สำนักวิชาฯ ต้องปรับปรุงหลักสูตรเพื่อให้บัณฑิตแพทย์มีสมรรถนะในการดูแลสุขภาพของผู้สูงอายุ อาจทำให้บัณฑิตแพทย์ที่ออกไปทำงานในระบบบริการสุขภาพเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาการจัดบริการทางการแพทย์ที่ด้อยประสิทธิภาพ | |||
คะแนนรวม |